วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์




พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (ฝรั่งเศส: Musée du Louvre; อังกฤษ: Louvre Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์คาเปเทียง ตัวอาคารเดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antioch

ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลกและยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกันชื่อดัง

ไอ. เอ็ม. เป (I. M. Pei) หรือ เหย่ว หมิง เป่ย(อักษรจีน: 貝聿銘; พินอิน: Bèi Lùmíng; อังกฤษ: Ieoh Ming Pei) เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1917 ที่ กว่างโจว ประเทศจีน เป็นสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน งานออกแบบของ ไอ. เอ็ม. เป จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น โดยมีการใช้ หิน คอนกรีต แก้ว และ เหล็กเป็นส่วนใหญ่ ไอ. เอ็ม. เปได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกสูงสุดของสถาปัตยกรรม ในปี ค.ศ.1983

ไอเอ็มเปเริ่มเรียนวิชาออกแบบที่สถาบันเอ็มไอที แล้วไปต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เรียนกับอาจารย์ชั้นนำ คือ มาร์เชล บรูเออร์ และ วอลเตอร์ โกรเปียส ได้ทั้งความรู้จากอาจารย์ชั้นนำของสถาบัน Bauhaus และได้บรรยากาศทางวิชาการของฮาร์วาร์ด เอ็ม.ไอ.ที ด้วยกัน

แนวความคิดในการออกแบบ

เปมีแนวความคิดว่าสถาปนิกควรคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและส่วนสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในสมัยที่เขาเรียนเขาได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่องพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนในเซี้ยงไฮ้ งานสถาปัตยกรรมของเปเป็นความคลาสสิคสมัยใหม่ เขาพอใจที่จะทำงานใดใช้ปริมาตรที่ชัดเจน รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายของวัสดุประเภท กระจก หิน ฯลฯ และการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทเดิมที่เฉพาะตัว มากกว่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่โดดเด่น อย่างเช่นการออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูฟร์,บอสตัน ที่ออกแบบต่อเติม-ขยายเพิ่ม จากอาคารเดิม

ในการออกแบบส่วนต่อขยายของอาคารแบบแนบจิตคิดให้มีความเข้ากันกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในอาคารเดิม สิ่งที่ชุมชนบริเวณนั้นต้องการ ตลอดจนลักษณะความเขียวขจีของต้นไม้ในบริเวณ

เปมีชื่อเสียงมากด้านงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ (ตั้งแต่ช่วง ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา) ผลงานต่างๆของเขาที่ผ่านมาแสดงออกถึงศักยภาพความอัจฉริยะในด้านนี้อันเป็นที่ยอมรับ

ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยอรมนีในเบอร์ลิน ก่อนรับงานเปสำรวจบริเวณพื้นที่อย่างมีระบบ ทำความเข้าใจอย่างแม่นมั่นถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้สถาปัตยกรรมที่เขาออกแบบมีความสัมพันธ์กับลักษณะของบริเวณเมือง เขาศึกษาลักษณะของผู้คนที่เดินใช้งานบริเวณนั้น กำหนดการเข้าถึงอาคาร มุมมอง ทางเข้าอย่างเหมาะสม


เหตุผลหนึ่งที่งานสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์ของไอเอ็มเปประสบความสำเร็จก็เพราะมีความงามที่ดึงดูดใจประชาชน ทั้งในลักษณะเมื่อแรกพบและหลังจากได้เข้าสัมผัสเรียนรู้ดูงานภายในอาคาร ประชาชนจะมีความเพลิดเพลินพอใจในตัวสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์เองพอๆกับตัวผลงานศิลปินที่ติดตั้งไว้ในนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น