วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“5 DON’T when you are sleeping”


“5 DON’T when you are sleeping” แปลตรงๆ ก็คือ ’5 อย่า’ เมื่อคุณจะนอน” มาดูกันซิว่ามีอะไรบ้าง

อย่าที่ 1 คือ อย่านอนหลับไปพร้อมๆ กับนาฬิกาข้อมือ ก็เพราะขณะที่นาฬิกาเจ้ากรรมทำงานไปเรื่อยๆ นั้น เจ้านาฬิกาไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ล้วนปล่อยพลังงานทั้งสิ้น เชื่อมั้ยว่าการใส่นาฬิกาข้อมือนอนจะมีผลต่อสุขภาพระยะยาวเลย

อย่าที่ 2 นี่ สำหรับพวกชอบคุยโทรศัพท์มือถือจนหลับโดยเฉพาะเลย ไม่ควรนอนหลับไปพร้อมๆ กับโทรศัพท์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการวางโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ๆ ตัวด้วย บางคนที่ชอบใช้มือถือเป็นนาฬิกาปลุกยามเช้า กรุณาเก็บมือถือของท่านไว้ให้ใกลตัวที่สุดเมื่อจะนอนซะเถอะ
ไปหาซื้อนาฬิกาปลุกถูกๆ ดีๆ เก๋ๆ มาใช้ดีกว่า เพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าโทรศัพท์มือถือเครื่องจิ๋วเนี่ย จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาขณะเปิดเครื่องไว้ และเจ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้มีผลกับระบบประสาทซะด้วยสิ เพราะฉะนั้น ตอนนอนก็ปิดโทรศัพท์มือถือซะดีกว่า พอปิดโทรศัพท์มือถือเรียบร้อยแล้ว จะวางไว้ใกล้หรือไกลก็หายห่วง

อย่าที่ 3 ง่ายๆ สั้นๆ คือ อย่าหลับพร้อมๆ กับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเหนื่อยอ่อนเมื่อยล้าขนาดไหน ต้องล้างเครื่องสำอางออกให้หมด เพราะการหลับทั้งๆ ที่เครื่องสำอางยังคาอยู่ที่ผิวหน้านั้น จะก่อให้เกิดปัญหาด้านผิวพรรณระยะยาว กลางคืนคือช่วงเวลาที่ผิวพรรณจะได้พักผ่อนบ้างนะค่ะ

อย่าที่ 4 (สำหรับสาวๆ เท่านั้น) คือ อย่านอนหลับทั้งๆ ที่ยังใส่ยกทรง นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันค้นพบว่าการใส่ยกทรงนานเกิน 12 ชั่วโมง จะเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทรวงอกได้ ฉะนั้น ก็อย่าใส่ยกทรงนอนเลย ไม่ต้องกลัวเสียทรง ไม่ต้องกลัวอกแบะ ห่วงชีวิตไว้ก่อนดีกว่า

อย่าที่ 5 อันนี้เหมาะกับทุกเพศเลยนะ “อย่านอนกับสามีหรือภรรยาของคนอื่น” เพราะคุณอาจจะไม่ได้ตื่นอีกเลย..

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ท่องตำรานาทีสุดท้าย'จำแน่น-สอบดีขึ้น'



จากผลการวิจัยชี้ว่า ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อเกิดความเครียดสามารถทำให้เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง และช่วยให้สมองเก็บความจำอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นักวิจัยพบว่า ฮอร์โมนความเครียด คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ทำให้การทำงานของเซลล์ประสาทมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ ศาสตราจารย์ฮันส์ รอยล์ นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล อังกฤษ กล่าวว่างานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าการเรียนรู้ของนักเรียนอาจดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเรียนรู้ภายใต้ความกดดันจากเส้นตาย รอยล์อธิบายว่า คอร์ติซอลและอะดรีนาลีนอาจกระตุ้นกลไกที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บนลำดับดีเอ็นเอ ซึ่งกลายเป็นการตั้งโปรแกรมดีเอ็นเอใหม่ “บ่อยครั้งที่เราพบว่า ความทรงจำที่ไม่น่าพึงใจคือความทรงจำที่คงอยู่กับเราไปตลอดชีวิตมากกว่าความทรงจำที่ดี สาเหตุมาจากบทบาทของความเครียด เนื่องจากมุมมองด้านชีววิทยาทำให้คนเราเลือกจดจำสิ่งที่ทำร้ายหรือคุกคามเรามากกว่า ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คล้ายกันนั้นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “คล้ายกับว่าฮอร์โมนความเครียดเชื่อมโยงกับตัวรับสัญญาณบางอย่างในสมอง ที่ส่งเสริมการควบคุมกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ “และที่สำคัญ ฮอร์โมนความเครียดจะส่งเสริมกระบวนการที่ปกติแล้วเกิดขึ้นขณะเรียนรู้” การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเกิดจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นและสร้างเป็นความจำไว้ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้และความจำ

โอเมก้า 3" ลดความเสี่ยง "โรคหัวใจ" หาได้ใน "ปลาทูไทย"




ความเจริญของโลกใบนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาอาหารที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ถูกปากและถูกใจคนกินมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะไขมันที่มีมากในอาหารประเภทเร่งด่วน ตัวเร่งให้เกิดความอ้วนและโรคนานาชนิดที่แฝงมากับอาหารในโลกยุคใหม่ดังนั้น เราจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม เพื่อหลีกหนีอาหารที่หน้าตาดีแต่ไม่มีประโยชน์เหล่านั้นศ.น.พ.นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและเลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลปิยะเวทกล่าวว่า การรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตแบบเร่งรีบเป็นตัวทำให้เกิดโรคได้มากมาย โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดในสมองได้ในอนาคตและยิ่งอาหารที่เราบริโภคในปัจจุบัน ถือว่ามีสารอาหารต่าง ๆ หดหายไป ซึ่งบางชนิดยังเป็นโทษต่อร่างกายอีกด้วย เช่น ผลไม้ที่มีความหวานมากขึ้น ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้โดยเฉพาะไขมันซึ่งมีทั้งไขมันดีและไขมันไม่ดี ซึ่งร่างกายต้องการไขมันดีมาช่วยให้การฟื้นฟูเซลล์และฮอร์โมนใน ส่วนต่าง ๆ จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า ไขมันที่ร่างกายต้องนำไปใช้คือ โอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งตัวที่ร่างกายต้องการมากที่สุดคือ โอเมก้า 3 ที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคสมองเสื่อมได้สำหรับโอเมก้า 3 บางชนิด ถ้าได้ตั้งแต่เด็ก ๆ หรืออยู่ในครรภ์มารดาจะทำให้การเจริญเติบโตของสมองดีขึ้น และยังมีผลการวิจัยพบว่า โอเมก้า 3 ยังช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบได้ด้วย ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นโอเมก้า 3 จะช่วยป้องกันโรคได้ และถ้าในคนที่เป็นโรคแล้วยังป้องกันไม่ให้มีอาการเพิ่มขึ้น ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพ (อเมริกา) และที่ปรึกษาโภชนบำบัดโรงพยาบาลเทพธารินทร์กล่าวว่า โอเมก้า 3 มีมากอยู่ในอาหารจำพวกปลาทะเล แต่ก็มีอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีสารอาหารชนิดนี้ด้วยเช่นกัน อาทิ ในน้ำมันบางชนิดในพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ผักโขม ผักแขนง เมล็ดปอ และในสาหร่าย แต่ในอาหารเหล่านี้จะเป็นโอเมก้า 3 ที่ไม่ใช่รูปแบบเดียวกับที่อยู่ในปลาอย่างไรก็ตาม โอเมก้า 3 จะถูกทำลายเมื่อนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีใช้ความร้อนสูง ๆ โดยเฉพาะวิธีการทอด เพราะโอเมก้า 3 จะละลายไปกับน้ำมันที่ใช้ทอดเกือบทั้งหมด ดังนั้น วิธีที่จะประกอบอาหารให้ คงโอเมก้า 3 ไว้ให้ได้มากที่สุดก็คือ การยำ การต้ม หรือแกง เพราะโอเมก้า 3 จะละลายอยู่ในน้ำซุปหรือน้ำแกง นอกจากนั้น ปลาทูของไทยยังมีโอเมก้า 3 มากเพียงพอกับปลาแซลมอน ที่ไม่จำเป็นต้องซื้อหาปลาราคาแพงมาประกอบอาหารเลย

รู้ไหมว่า "ชิส กับ เนย" อย่างไหนดีกว่ากัน




ผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง "เนย" และ "ชีส" ต่างเป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มความอร่อยให้แก่ขนมปังปิ้งมื้อเช้า บิสกิตยามบ่าย หรือแม้แต่เมนูอาหารค่ำแบบฝรั่งก็ยังต้องพึ่งทั้งชีส และเนยจูเลีย เจอป์สเตด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ได‰ทดสอบเด็กๆ วัยประถมศึกษา จำนวน 50 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ชอบกินชีส และกลุ่มที่เลือกกินเนยมากกว่า ก่อนให้สลับพฤติกรรมการกินจากชีสเป็นเนย และเนยเป็นชีส อยู่นานถึง 6 สัปดาห์ปรากฏว่า ร่างกายของนักกินชีสวัยเยาว์ ไม่มีการเพิ่มของไขมันความหนาแน่นต่ำ หรือ ไขมันแอลดีแอล ที่ก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งส่วนบรรดานักกินเนยกลับมีไขมันแอลดีแอลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7 นั่นเป็นเพราะเนย ผลิตมาจากไขมันล้วนๆ ของนม จึงให้คุณค่าแค่ไขมันตัวร้ายที่ชอบอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดขณะที่ชีสมีทั้งแคลเซียม และโปรตีน รวมพลังช่วยกันขับไล่ไขมันออกจากร่างกายระหว่างการย่อย จนเหลือเป็นสารอาหารดีๆ ที่มีประโยชน์เท่านั้น

วิธีลดความฟุ้งซ่านก่อนอ่านหนังสือ



เคยหรือไม่? อ่านหนังสือหลายรอบแต่ยังจำไม่ได้สักที ลองสำรวจ “ใจพร้อม” หรือไม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุ “ทำสมาธิสั้น” โดยไม่รู้ตัว “เดลินิวส์ แคมปัส” มีผลการศึกษาน่าสนใจช่วยลดความฟุ้งซ่านมาฝากวัยเรียนกันการวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เผยว่า การฟังเพลงโปรด จะช่วยขยายหลอดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งไม่เพียงทำให้รู้สึกผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อหัวใจด้วย แต่หากต้องการปรับอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านก่อนอ่านหนังสือแล้วล่ะก็ ควรเลือกฟังเพลงในจังหวะไม่เร็วเกินไปอย่าง “แจ๊ส” จะดีกว่า นอกจากนี้ การวิจัยจากมหาวิทยาลัยในฮ่องกงยังพบว่า การกดจุดบนฝ่ามือ ตรงบริเวณมุมส่วนโค้งระหว่างนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ เพียง 30 วินาที จะช่วยลดความตึงเครียด และเมื่อยล้าของร่างกายส่วนบนได้ถึงร้อยละ 39จากนั้น ก็ถึงเวลาอ่านหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้อง ๆ ควรให้เวลาในการอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากครึ่งชั่วโมงแรกจิตใจมักยังไม่นิ่ง ส่วนใหญ่จะเริ่มมีสมาธิมากขึ้นหลังล่วงเวลานั้นไปแล้ว ระหว่างนี้ อาจเสริมบรรยากาศภายในห้องด้วยกลิ่นลาเวนเดอร์ก็ได้ เพราะเปรียบเหมือนยาคลายความวิตกกังวลชั้นดีทีเดียว