วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ท่องตำรานาทีสุดท้าย'จำแน่น-สอบดีขึ้น'



จากผลการวิจัยชี้ว่า ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อเกิดความเครียดสามารถทำให้เซลล์สมองเปลี่ยนแปลง และช่วยให้สมองเก็บความจำอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นักวิจัยพบว่า ฮอร์โมนความเครียด คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ทำให้การทำงานของเซลล์ประสาทมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ ศาสตราจารย์ฮันส์ รอยล์ นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล อังกฤษ กล่าวว่างานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าการเรียนรู้ของนักเรียนอาจดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเรียนรู้ภายใต้ความกดดันจากเส้นตาย รอยล์อธิบายว่า คอร์ติซอลและอะดรีนาลีนอาจกระตุ้นกลไกที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บนลำดับดีเอ็นเอ ซึ่งกลายเป็นการตั้งโปรแกรมดีเอ็นเอใหม่ “บ่อยครั้งที่เราพบว่า ความทรงจำที่ไม่น่าพึงใจคือความทรงจำที่คงอยู่กับเราไปตลอดชีวิตมากกว่าความทรงจำที่ดี สาเหตุมาจากบทบาทของความเครียด เนื่องจากมุมมองด้านชีววิทยาทำให้คนเราเลือกจดจำสิ่งที่ทำร้ายหรือคุกคามเรามากกว่า ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่คล้ายกันนั้นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “คล้ายกับว่าฮอร์โมนความเครียดเชื่อมโยงกับตัวรับสัญญาณบางอย่างในสมอง ที่ส่งเสริมการควบคุมกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ “และที่สำคัญ ฮอร์โมนความเครียดจะส่งเสริมกระบวนการที่ปกติแล้วเกิดขึ้นขณะเรียนรู้” การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเกิดจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นและสร้างเป็นความจำไว้ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้และความจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น